ยุคของไดโนเสาร์


ยุคของไดโนเสาร์
      
       เมื่อหลายล้านปีก่อนโลกได้กำเนิดสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ขึ้นมาบนโลก มี หลายเผ่าหลายพันธุ์สาย ทั้งประเภทกินเนื้อและกินพืชเป็นอาหาร ต่างฝ่ายก็มีหลายเผ่าหลายพันธุ์สาย ทั้งประเภทกินเนื้อและกินพืชเป็นอาหาร ต่างฝ่ายก็ซึ่งต่างก็ได้รับสมญานามว่าเป็นนักล่า โดยเฉาะ ทีแร็กซ์ และแร็พเตอร์ นับว่าเป็นนักล่าในยุคจูลลาสสิค และฝ่ายหาอาหารจากพืชก็จะมีสิ่งป้องกันบางอย่างเพื่อเป็นเกราะคุ้มครองของตน เอง เช่นหนามที่แหลมคม พวกนี้จะไม่ทำอันตรายพวกอื่นก่อนถ้าไม่ถูกรบกวนหรือถูกรุกรานก่อน แต่แล้วสายพันธุ์ของไดโนเสาร์ก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะต้องเผชิญกับหายนะอันใหญ่ หลวงของโลกจากกลุ่มหินอุกกาบาตที่เข้าถล่มโลกอย่างบ้าคลั่ง ทำให้สิ่งมีชีวิตต้องจบสิ้นลงไปด้วยเพราะไม่อาจทนความร้อนได้ ท้องฟ้าเต็มไปด้วยเขม่าและควันไฟที่โพยพุ่ง โลกเต็มไปด้วยความมืดมิดไม่มีแสงสว่าง และเป็นเช่นนั้นอยู่หลายปีและโลกเริ่มเย็นขึ้นๆเรื่อยๆ และต่อมาก็เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ เริ่มเข้ายุคใหม่ที่เริ่มก่อกำเนิดสิ่งมีชีวิตยุดใหม่เข้ามาแทนที่สัตว์ใหญ่ ที่เคยครองโลกอยู่คงเหลือแต่ซากเถ้ากระดูกและฟอสซิลให้เห็นมาจนตราบทุกวันนี้
            ซากดึกดำบรรพ์ หรือ ฟอสซิล (fossil) คือ ซากหรือร่อง รอยของพืชหรือสัตว์ที่ถูกเก็บรักษาไว้โดยธรรมชาติในชั้นหินในเปลือกโลก ประโยชน์ของฟอสซิล ฟอสซิลสามารถบอกให้เราทราบถึงชนิดรูปแบบและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในช่วง ระยะเวลาทาง ธรณีวิทยารวมทั้งบ่งบอก สภาพแวดล้อมของ โลกในอดีตกาลอีกด้วยเนื่องจากในแต่ละช่วงระยะ เวลาทางธรณีวิทยาจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้น เฉพาะบางชนิดเท่านั้น จากการคำนวณหาอายุของหินทั้งในโลกและจากดาวต่างๆในระบบสุริยจักรวาลโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง จากดวงจันทร์ โดยการศึกษาไอโซโทป(isotope)ของธาตุกัมมันตรังสีต่างๆ(radioactive elements)ที่เป็นส่วนประกอบของหิน รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบชั้นหินโดยใช้ซากดึกดำบรรพ์ ทำให้ทราบอายุของโลกโดยประมาณ 4,600,000,000 ปี

ยุคของไดโนเสาร์ประกอบไปด้วย 3 ยุคหลักคือ
ยุคไทรแอสซิก
           เป็นยุคกำเนิดไดโนเสาร์ตัวแรก ราวๆ 230 ล้านปีก่อน การครอบครองโลกของไดโนเสาร์ในยุคนี้โลกถูกปกคลุมด้วยป่าไม้จำนวนมาก พืชตระกูลที่ใช้สปอร์ในการขยายพันธ์ประสบความสำเร็จและมีวิวัฒนาการถึงขั้นสูงสุด ในป่ายุคไทรแอสสิกช่วงแรกนั้นมีสัตว์ใหญ่ไม่มากนักสัตว์ปีกที่ใหญ่ที่สุดคือแมลงปอยักษ์  เมกานิลร่า”  หรือแมลงป่องยักษ์  บรอนโตสกอร์ปิโอเนื่องจากในช่วงปลายของยุคเพอร์เมียนเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตทำให้พวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนมากสูญพันธุ์ไปพวกที่เหลือได้สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงต้นยุคไทรแอสสิกไดโนเสาร์ก็ถือกำเนิดขึ้นโดยพวกมันวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานที่เดินด้วยขาหลังอย่างเจ้าธีโคดอน และอาร์โคซอร์ซึ่งถือกันว่าเป็นบรรพบุรุษของไดโนเสาร์
          การสูญพันธ์ครั้งใหญ่ในยุคเพอร์เมียนทำให้พวกมันสามารถขยายเผ่าพันธุ์ได้อย่างมากมายในช่วงต้นยุคไทรแอสสิกและกลายมาเป็นคู่แข่งของพวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมที่เหลือ ไดโนเสาร์ในยุคแรกเป็นพวกเดินสองขา เช่น พลาทีโอซอร์ หรือ ซีโลไฟซิส เป็นบรรพบุรุษของพวกกินพืช และกินเนื้อในช่วงเวลาต่อมา ทำให้พวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เคยครองโลกในยุคเพอร์เมี่ยนนั้นต้องวิวัฒนาการให้มีขนาดเล็กลงเพื่อที่จะหลบหนีพวกไดโนเสาร์ที่ใหญ่ขึ้น และรวดเร็วขึ้น และหลีกทางให้เผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์ก้าวมาครองโลกนี้แทนในที่สุด

           ยุคไทรแอสสิคยังถือว่าเป็นยุคเชื่อมสัตว์โบราณ และไดโนเสาร์ในยุคแรกรวมกันซึ่งไดโนเสาร์ที่เป็นที่รู้จักในยุค รวมถึงสัตว์ในไทรแอสสิค มีรายชื่อหลักๆดังนี้
1.      Nothosaurus
2.      Shonisaurus

3.      Euparkeria
4.      Herrerasaurus
5.      Riojasaurus
ยุคจูแรสซิก
         จูราสสิคเริ่มต้นขึ้นราวๆ 199 ล้านปีก่อน เมื่อผืนแผ่นดินใหญ่ทวีปแพนเจียแยกตัวทำให้เกิดหมู่เกาะขึ้นบนโลกมากมาย ความอุดมสมบูรณ์กระจายเข้าครอบคลุมทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นผืนป่า น่านฟ้า และมหาสมุทร และเกิดเป็นชายสั่งน้ำตื้นมากมายรอดหมู่เกาะ โลกในยุคนี้ผืนแผ่นดินถูกปกคลุมด้วยพืชขนาดยักษ์จำพวกสนและเฟิร์น มีพืชดอกปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงกลางของยุคนี้ นับว่าเป็นจุดเริ่มของการขยายพันธุ์รูปแบบใหม่ของพวกพืช การวิวัฒนาการขั้นสูงสุดในยุคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับพืชพันธุ์เท่านั้น มันยังทำให้ไดโนเสาร์กลายเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่โลกนี้เคยมีมา ไดโนเสาร์จำพวก พราทิโอซอรัส กลายเป็นกลุ่ม ซอโรพอด ขนาดยักษ์เช่น บราคิโอซอรัส อะแพทโทซอรัส และ ดิปโพลโดคัส ไดโนเสาร์กินเนื้อก็วิวัฒนาการจนสุดโต่งมีกรงเล็บที่แหลมคม วิ่งไว แข็งแรงขึ้น ขนาดใหญ่ขึ้น ตั้งแต่ไดโลโฟซอรัส ไปจนถึงอัลโลซอรัส ธรรมชาติเมื่อสร้างผู้ล่าก็ต้องเครื่องอาวุธต่อกรให้กับผู้ถูกล่าเช่น สเตโกซอรัส มีหนามแหลมปลายหางไว้ต่อกรกับสัตว์กินเนื้อ หรือแส้ปลายหางของดิปโพลโดคัส เมื่อผืนดินกลายเป็นของไดโนเสาร์ทั้งหมด มหาสมุทรก็ปกครองโดนอสูรกายใต้ทะเลอย่าง เพรสซิโอซอร์ ชนิดต่างๆ มันมีครีบแทนขาทั้งสี่ข้าง มีคอที่ยาวพร้อมฟันอันแหลมคม สัตว์ทะเลอาธิเช่น ไลโอเพลโลดอน สามารถเขมือบ เซอราโทซอรัสเข้าไปได้ทั้งตัว บนฟ้าก็มีนกนักล่า เทอร์โรซอร์ในยุคแรก 
        ถือว่ายุคจูราสสิคเป็นยุคที่ไดโนเสาร์ครองโลกจริงๆก็ว่าได้  และนี่คือรายชื่อความไดโนเสาร์ที่เป็นที่รู้จักในยุคจูราสสิคมีดังนี้
1.      Ophthalmosaurus
2.      Dilophosaurus
3.      Vulcanodon
4.      Mamenchisaurus

5.      Ceratosaurus

ยุคครีเทเชียส
            ครั้งสุดท้ายที่ไดโนเสาร์ได้ครองโลกก่อนจะสูญพันธุ์ไป ยุคนี้เริ่มตั้งแต่ 145 ล้านปี และหมดสิ้นไปเมื่อ 70 – 65 ล้านปี ผืนแผ่นดินทวีปแพนเจียได้แยกตัวออกอีกครั้ง ส่งผลให้เกิดทวีปเล็กๆมากมาย ซึ่งใกล้เคียงกับโลกในปัจจุบันที่เราอยู่มาก ด้วยทวีปที่แยกกันออกไปมากมายทำให้สัตว์ในแต่ละพื้นที่เริ่มวิวัฒนาการลักษณะเฉพาะตัว บ้างมีขนาดเล็กลง บ้างมีขนาดใหญ่ขึ้นจนน่าตกใจ พืชพันธุ์เริ่มเปลี่ยนสภาพไปตามภูมิอากาศที่เริ่มมีกำมะถันเจือปนในบางพื้น ทำให้ยุคครีเทเซียสมีอากาศเป็นพิษในช่วงปลายยุค
             ไดโนเสาร์ในยุคนี้เป็นยุคที่อันตรายที่สุดเนื่องจากวิวัฒนาการผลักให้ผู้ล่ามีขนาดใหญ่กว่าผู้ถูกล่า สัตว์กินเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นมากกว่า 1 เท่าอาทิเช่น อาโครคานโทซอรัส กีกาโนโทซอรัส คาร์คาโรดอนโทซอรัส มาพูซอรัส และสไปโนซอรัส มีขนาดใหญ่กว่า 15 เมตร จนทำให้ไทแรนโนซอรัส เร็กซ์ ที่น่าเกรงขามเมื่อ 20 ปีที่ร้ายตกอันดับไดโนเสาร์กินเนื้อที่ใหญ่ที่สุดในโลก กลุ่มกินพืชได้วิวัฒนาการเขา และเกราะอันทรงพลังเพื่อป้องกันภัยจากนักล่าพวกนี้ อาทิเช่น ไทรเซอราทอปส์ สไตราโคซอรัส แองคิโลซอรัส และยูโอโพลซีฟารัส กลุ่มโดรมิโอซอร์กลายเป็นนักล่าขนาดเล็กที่ว่องไว และน่ากลัว เช่น ไดโนไนคัส ยูทาร์แรปเตอร์ และเวโลซีแรปเตอร์
             ความหลากหลายของยุคครีเทเชียสทำให้เกิดสายพันธุ์ไดโนเสาร์แปลกประหลาดมากมาย ก่อนที่พวกมันจะถูกบีบโดยธรรมชาติให้สูญพันธุ์ไป นี่คือรายชื่อของไดโนเสาร์ที่เป็นที่รู้จักในยุคนี้

1. Microraptor
2.   Dromiceiomimus
3.    Pachyrhinosaurus
4.   Opisthocoelicaudia
5.   Saichania

และอีกยุคหนึ่งที่อยากนำเสนอ คือยุคน้ำแข็ง ที่มีความน่าสนใจมากๆอีกยุคหนึ่ง
ยุคน้ำแข็ง  Ice Age
           สองล้านห้าแสนปีก่อน ในช่วงปลายยุคพลีโอซีน อุณหภูมิของโลกได้ลดต่ำลง โดยส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการเกิดคอคอดปานามา ที่ปิดกั้นการไหลของน้ำในมหาสมุทร ส่งผลให้กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีมพัดไปทางขั้วโลกเหนือ ก่อให้เกิดหยาดน้ำฟ้าตกลงมาเป็นหิมะ ทำให้ธารน้ำแข็งของโลกก่อตัวหนาขึ้น ส่งผลให้สภาพอากาศของโลกเย็นลงกว่าเดิมและก่อให้เกิดธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ในหลายพื้นที่

           สภาพดังกล่าว ส่งผลให้เกิดยุคน้ำแข็งขึ้นกว่า 20 ครั้ง และเมื่อเข้าถึงช่วงยุคพลีสโตซีนตอนปลายเมื่อราวหกหมื่นปีที่แล้ว พืชน้ำแข็งก็ได้ปกคลุมดินแดนตอนเหนือของโลก อันได้แก่ บางส่วนตอนเหนือของเอเชีย ทวีปยุโรป  และ ทวีปอเมริกาเหนือ

           ในยุคน้ำแข็ง ทวีปอเมริกาเหนือ หรือ ดินแดนที่ถูกเรียกขานว่า โลกใหม่ การลดระดับลงของน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกได้ก่อให้เกิดสะพานธรรมชาติเชื่อมระหว่างทวีปอเมริกาเหนือและเอเชีย ดินแดนดังกล่าวกินพื้นที่ซึ่งปัจจุบัน คือ ช่องแคบเบริ่ง จึงได้ชื่อว่า เบริงเจีย (Beringia) และโดยสะพานธรรมชาติเบริงเจียนี่เองที่ทำให้สิ่งมีชิวิตจากทวีปเอเชียและอาฟริกาอพยพเข้าไปในอเมริกาเหนือ ซึ่งก็รวมทั้งบรรพบุรุษรุ่นแรกของมนุษย์เราด้วย

             สัตว์โบราณกลุ่มแรกของอเมริกาที่น่าสนใจก็คือ ช้าง ในยุคแรกนั้นช้างมีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและกระจายพันธุ์ไปยังทวีปต่าง ๆ ในยุคต่อมาจนกระทั่งถึงยุคพลีสโตซีนก็มีช้างมากมายหลายสายพันธุ์อาศัยอยู่บนโลก โดยมีขนาดและรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันไป ตั้งแต่ช้างแคระขนาดเท่าควายที่อยู่ตามเกาะแก่งของทะเลเมดิเตอเรเนียนจนถึงช้างแมมมอธในเขตทุ่งน้ำแข็งทางเหนือ สำหรับทวีปอเมริกาเหนือในช่วงเวลาดังกล่าวมีช้างอาศัยอยู่หลายชนิด โดยช้างที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ ช้างแมมมอธขนปุย (wooly mammoth),  ช้างมาสโตดอน (Mastodon) และ โคลัมเบียนแมมมอธ (Columbian Mammoth)
ช้างแมมมอธขนปุย (wooly mammoth)
ช้างมาสโตดอน (Mastodon)
 โคลัมเบียนแมมมอธ (Columbian Mammoth)

               ช้างแมมมอธขนปุยพบกระจัดกระจายทั่วไปตั้งแต่แถบเบริงเจียจนถึงตอนเหนือของทวีป ในขณะที่โคลัมเบียนแมมมอธจะอาศัยอยู่ทางตอนใต้ถัดลงมา  ลักษณะโดยทั่วไปของช้างแมมมอธแห่งอเมริกาคล้ายกับญาติของมันที่อยู่ในทวีปยุโรป โดยพวกแมมอธขนปุยจะมีขนาดพอกับช้างเอเชียตัวเขื่อง ๆ สูงที่ไหล่ราว 9 – 10 ฟุต หนักประมาณ 5 ตัน มีใบหูเล็กเพื่อช่วยในการรักษาอุณหภูมิร่างกาย งายาวโค้งใช้ประโยชน์ในการคุ้ยหิมะเพื่อหาอาหาร มีขนยาวหนาสองชั้นหุ้มร่างกาย โดยขนชั้นนอกจะยาวกว่าชั้นใน เพื่อช่วยในการสร้างความอบอุ่น  จุดเด่นอย่างหนึ่งของพวกแมมมอธก็คือโดมสูงที่ศรีษะ ซึ่งทำให้มันดูสูงใหญ่กว่าที่เป็นจริง
              สำหรับมาสโตดอน มีลักษณะและขนาดใกล้เคียงกับช้างปัจจุบัน งายาวค่อนข้างตรง แต่ร่างกายก็มีขนปกคลุมร่างกายเช่นเดียวกับแมมมอธ  มีบริเวณที่อยู่กว้างกว่าช้างแมมมอธ โดยพบเลยลงมาถึงแถบอเมริกากลาง  สำหรับช้างยักษ์ตัวสุดท้าย ได้แก่ โคลัมเบียนแมมมอธ เป็นช้างที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีควาามสูงที่ไหล่ราวสิบสามฟุต และอาจหนักเกือบ 6 ตัน มีงายาวโค้งและมีศรีษะเป็นรูปโดมสูงเหมือนแมมมอธขนปุย แต่เนื่องจากบริเวณที่โคลัมเบียนแมมมอธอาศัยอยู่มีภูมิอากาศอบอุ่นกว่า จึงคาดกันว่า โคลัมเบียนแมมมอธน่าจะมีขนสั้นกว่าแมมมอธขนปุย แม้จะมีความแตกต่างในลักษณะทางกายภาพและบริเวณที่อยู่อาศัย แต่ช้างทั้งสามชนิดนี้ก็เป็นสัตว์สังคมที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูงเช่นเดียวกับช้างในปัจจุบัน


              แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศในตอนปลายยุคน้ำแข็ง จะเป็นสาเหตุเริ่มต้นของการสูญพันธุ์ของเหล่าสัตว์ยักษ์ยุคน้ำแข็ง ในทวีปอเมริกาเหนือ  แต่เราก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ผู้ที่เร่งเวลาหายนะของเหล่าสัตว์ยักษ์ยุคน้ำแข็งนี้ก็คือ มนุษย์ จากหลักฐานของซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบในแถบอเมริกาเหนือ พบว่าหลังจากที่มนุษย์เข้าตั้งรกรากได้เพียงหนึ่งพันปี สัตว์ขนาดใหญ่ของทวีปอเมริกาเหนือกว่าสามสิบชนิดก็ต้องสูญพันธุ์ไป และสัตว์ใหญ่เพียงชนิดเดียวที่หลงเหลือจากยุคน้ำแข็งก็คือควายไบซัน
             อย่างไรก็ตามนับจากช่วงเวลานั้นมาจนถึงยุคที่ชาวผิวขาวเข้ามาตั้งรกรากบนแผ่นดินอเมริกา ไม่มีหลักฐานว่ามีการสูญพันธุ์ใด ๆ เกิดขึ้น ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือได้สร้างวิถีชีวิตใหม่ในการอยู่ร่วมและเคารพในธรรมชาติ แต่เมื่อชนผิวขาวเข้ามาถึง การทำลายล้างก็เริ่มขึ้นอีกครั้ง ในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งร้อยปี ควายไบซันกว่าหกสิบล้านตัวถูกกวาดล้างจนแทบหมดสิ้นไปจากทุ่งราบ อาจกล่าวได้ว่าชะตากรรมของเหล่าสัตว์ยักษ์ในทวีปอเมริกาเหนือจบสิ้นลงจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติและการล่าของมนุษย์

ประวัติผู้เขียน
ชื่อ  นางสาวณัฐสินี    ชูแก้ว
วันเกิด   20   มิถุนายน   พ.ศ.2544
กำลังศึกษาอยู่ที่ โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2  เลขที่ 5

Name : Miss Natsinee     Chukaew
Birthday : June 20th 2001
Studying at Donmuang Taharnargardbumrung school
School’s address : 337, Cheidwuthakas road, Seekan ,Khet Don Mueang, Bangkok Thailand

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ฝ่าฟันเข้าทันตะฯ

stranger things